วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559
กศน.ตำบลแม่ตีบ เปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ 13 มิถุนายน 2559 โดย มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตีบ นายชนชาย ใจหล้า ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน
วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เตรียมสถานที่ เปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน 2559
ป้ายเตรียมเปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ กศน.ตำบลแม่ตีบ |
บริเวณสวนผักหน้าป้าย กศน.ตำบล |
บริเวณหน้าห้องเรียน สำหรับประธานกล่าวเปิดงาน |
ปุ๋ยหมัก จากกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง บ้านน้ำหลง หมู่.3 ตำบลแม่ตีบ |
วัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรมการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า |
เชื้อเห็ดฟาง 100 ก้อน พร้อมตระกร้า กิจกรรมการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า |
วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559
อบรมโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2559
อบรมโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ศึกษาสถานที่เลี้ยงโคนม |
ฟังวิทยากรบรรยาย ให้ความรู้เรื่องการงอกของเล็ดพันธ์ |
การเลี้ยงไก้พันธ์เนื้อ ประดู่หางดำ |
การเลี้ยงหมูหลุม |
การเลี้ยงหมูหลุม |
การศึกษาธรรมชาติ การเจริยเติบโต ของแหล่งพันธ์ไม้ต่างๆ |
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
กิจกรรมไหว้ครู ประจำปี 2559 ..วันที่ 2 มิถุนายน 2559
พิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรงการไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรมเช่น การไหว้ครูในโรงเรียน พิธีกรรมของโรงเรียนในวันครู การไหว้ครูมวย เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย เช่นเดียวกับกระบี่กระบอง การไหว้ครู ก่อนการแสดงศิลปะดนตรี เช่น หนังตะลุง และการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท (อาเศียรพาท ก็ว่า) เป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู และขอความเป็นมงคล โดยปรกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีวันใดวันหนึ่งในราวเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายน
กิจกรรมจัดทำพานไหว้ครู 1 มิถุนายน 2559 ณ กศน.ตำบลแม่ตีบ
ดอกไม้ ที่ขาดไม่ได้ในพานไหว้ครู คือ หญ้าแพรก ข้าวตอก ดอกมะเขือ และดอกเข็มซึ่งเป็นองค์ประกอบในพานดอกไม้แต่ละอย่างล้วนเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น
- หญ้าแพรก เป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเข้มแข็ง อดทนถึงแม้จะแห้งแล้ง คนเดินเหยียบย่ำ หญ้าแพรกก็จะไม่ตาย พอได้รับโอกาสที่เหมาะสม ได้รับความชุมชื้น ก็จะแตกยอดเจริญงอกงามเป็นอย่างดี ครูจึงต้องเป็นผู้ที่เข้มแข็งอดทนต่อปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนนักศึกษามากมาย และค่อย ๆสะท้อนปลูกฝังความมุ่งมั่นอดทน เข้มแข็งไปสู่นิสัยของนักเรียน นักศึกษา ฝึกให้เขาเข้มแข็งอดทนให้จงได้
- ข้าวตอก เป็นข้าวที่เกิดจากการใช้เมล็ดข้าสารไปคั่ว โดยมีฝาครอบไว้ เมื่อได้รับความร้อนระดับหนึ่ง เมล็ดข้าวก็จะพองตัวและแตกตัวออกเป็นข้าวตอก มีกลิ่นหอม เช่นเดียวกับการให้การศึกษา ครูผู้สอนต้องให้การอบรมคู่กันไปด้วย "อบเพื่อให้สุกรมเพื่อให้หอม" เช่นเดียวกับการทำข้าวตอก
การสั่งสอนอบรมของครู บางครั้งต้องมีการว่ากล่าวตักเตือน ติติงหรือทำโทษ ในการกระทำที่ไม่เหมาะสมเสมือนการใช้ความร้อนกับเมล็ดข้าว โดยมีกฏระเบียบหรือแนวปฏิบัติ เสมือนเป็นฝาครอบ ไม่ให้ลูกศิษย์กระเด็นกระดอนออกนอกลู่นอกทาง ครูจึงต้องทำหน้าที่สั่งสอนอบรมให้นักเรียน นักศึกษาเป็นดังเช่นข้าวตอก คือ "สุกและหอม" ซึ่งหมายถึง การสั่งสอนแนะนำให้เขามีความรู้ความสามารถและเป็นคนดีที่ยอมรับนั่นเอง
- ดอกมะเขือ ลักษณะของดอกมะเขือ เวลาบานจะสีขาวสะอาดและดอกจะโน้มคว่ำลงพื้นดินซึ่งก็เป็นปริศนาธรรม แสดงถึงความสะอาดบริสุทธิ์ของจิตใจ เป็นคนซื่อสัตย์ อ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ
- ดอกเข็ม ลักษณะของดอกเข็มจะมียอดดอกแหลม ซึ่งเป็นปริศนาธรรมว่า ครูต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังความคิด ให้นักเรียนนักศึกษาเป็นคนฉลาด(หัวแหลม) รู้จักวิเคราะห์วิจารณ์ ใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่พบเห็น ความเฉียบคมทางความคิดจะทะลุทะลวงทุกปัญหาได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)