วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิทยากรชุมชน ตำบลแม่ตีบ








ลำดับที่
ชื่อ สกุล
หมวด/สาขาที่ให้ความรู้
1
นายนพ  อักษร
วิทยากรสอนการทำปุ๋ยหมัก
2
นายเผ่าเทพ  บำรุงกิจ
วิทยากรสอนการทำปุ๋ยหมัก
3
นางยุพิน   อักษร
วิทยากรสอนการดอกไม้ประดิษฐ์
6
นางยุภาวรรณ  ฉัตรแก้ว
วิทยากรสอนการประดิษฐ์ของชำร่วย

ทำเนียบบุคลากร




ทำเนียบบุคลากร

ลำดับที่
ชื่อ สกุล
ตำแหน่ง
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
1
นางสาวพิมพ์ใจ  อุ่นแก้ว
ครูอาสาฯ
4  ปี
2
นายนรินทร์  ปาติ๊บ
ครู กศน.ตำบล
1  ปี
3
นางสาวเจนจิรา  มณียศ
ครูศรช.
6 เดือน
4
นางสาวธนิตา  ชายป่า
ครูศรช.
3  ปี
5
นางอัษฎางค์  บัวเงิน
ครูอาสาฯ
ตั้งแต่มีนาคม 2557-ปัจจุบัน
6
นายโกศล  วงค์วาร
ครู กศน.ตำบล
ตั้งแต่ กันยายน 2557-ปัจจุบัน

สภาพเศรฐกิจ



สภาพทางเศรษฐกิจ


"แม่ตีบ" เดิมเรียกว่า"เวียงทิพย์" สร้างมาคู่กับเมืองเวียงทอง และเมืองเงินหรือง้าวเงิน ยังพบซากโบราณสถานและโบราณวัตถุปรากฏอยู่ อาทิ วัดดอยทิพย์(วัดห้วยเต็บบ้านงิ้วงาม) และพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ได้แก่ พระพุทธองค์ทิพย์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2200 เนื่องจากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ จึงพากันตั้งรกรากและสืบสานจนปัจจุบัน และมีอาชีพในการส่งเสริมคนในชุมชนโดยมีลักษณะการปลูกพืชไร่ คือ การปลูกพืชไร่ในที่ดอน จะเป็นพื้นที่สูง อยู่ในเขตป่าโดยจะปลูกพืชลักษณะเดี่ยวหรือพืชผสม พืชที่สำคัญได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด และการปลูกพืชในที่นา พืชที่สำคัญได้แก่ ข้าวนาปี  ตามด้วยข้าวโพดและกระเทียม  ถั่วเหลือง ยาสูบ ถั่วฝักยาว ตลอดปี และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมสร้างรายได้ในชุมชน ดังนี้

-  แม่ตีบหลวง  หมู่. 2   กลุ่มปุ๋ยหมัก และ กลุ่มทำพวงหรีด

คำขวัญตำบล



คำขวัญตำบลแม่ตีบ

                                      ท้องถิ่นธัญญาหาร             พระประธานทองทิพย์
                             ก๊างหงส์เทพสถิต                        ศักดิ์สิทธิ์เจ้าพ่อเจินเมือง
                             ลือเลื่องถ่านหินลิกไนท์                 กราบไหว้พระธาตุทรายเหงา

พัฒนาวัด



โครงการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

          การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจาก การศึกษาที่ผู้เรียนมีอยู่หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนโดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตามวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการพัฒนาที่ยั่งยืน

          1.๑ กิจกรรมพัฒนาวัดเพื่อชุมชน

          มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๒5 คน เพศชาย จำนวน 8 คน เพศหญิง จำนวน 17  คน 

          (วันที่ 27 มีนาคม 255๘) ณ. วัดบ้านน้ำหลง หมู่.3.แม่ตีบ  อ.งาว จ.ลำปาง 

          งบประมาณ 3,585 บาท
 
 
Blogger Templates